วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รายงานผลการวิจัยการนิเทศพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)ด้วยเทคนิค Coaching and Mentoring







รายงานผลการวิจัยการนิเทศพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)ด้วยเทคนิค Coaching and Mentoring ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2

อารี แก้วสถิตย์วงศ์  ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
AREE KAEWSATITWONG : Supervisor  Samutprakan Primary Educational Service Area Office 2


รายงานผลการวิจัยการนิเทศพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ด้วยเทคนิค Coaching and Mentoring ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสรุปผล การดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการนิเทศพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ด้วยเทคนิค Coaching and Mentoring ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการดำเนินการได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ของโรงเรียนในสังกัด ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยงCoaching and Mentoringจำนวน 12 คน11โรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตนเองด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ภายหลังจากที่ทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแล้ว และแบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับวิธีการที่ใช้ในการพัฒนา  การเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามทุกฉบับ ใช้เก็บข้อมูลจากครูกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมครบทุกกิจกรรมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ได้แก่ ร้อยละและ ค่าเฉลี่ย ส่วนการนำเสนอข้อมูล นำเสนอในรูปความเรียงประกอบตาราง ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
สรุปผลการวิจัย
                การวิจัยการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring)  ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 2  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  พัฒนาจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระ  การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ )  ที่ได้รับการนิเทศแบบสอนแนะ  และการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) และ  2) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่ได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการนิเทศแบบสอนแนะ และการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring)  ของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556   ผู้รายงานได้ผลนำมาสรุป ดังนี้
         1.การจัดการเรียนรู้ของของครูผู้สอนภาษาอังกฤษกลุ่มเป้าหมาย อยู่ในระดับดีเยี่ยม (91.87)เมื่อพิจารณาตามกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยรวม พบว่า ครูมีพฤติกรรมในขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงที่สุด อยู่ในระดับดีเยี่ยม  (94.51)   รองลงมาคือ ขั้นการเตรียมการสอน อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม  (94.25)  และขั้นสรุปผลการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดีมาก(86.81)  ตามลำดับ

         2. ความพึงพอใจของครูที่ได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการนิเทศแบบสอนแนะ และการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring)  ของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2  มีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก  ( 4.40 )  เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า 

         ด้านความพึงพอใจต่อผู้นิเทศ มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด (  4.52)  เมื่อจำแนกเป็นรายประเด็น พบว่า  บุคลิกภาพเหมาะสม  การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี    มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ เทคนิควิธีการนิเทศเหมาะสม ความรู้ความสามารถในเรื่องที่นิเทศ  และภาวะผู้นำและ ผู้ตามที่ดี  ตามลำดับ
         ด้านความพึงพอใจต่อคุณภาพของการนิเทศ คะแนนเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับ มาก (  4.28)  เมื่อจำแนกเป็นรายประเด็น พบว่า  การสร้างความร่วมมือ  มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือได้รับการนิเทศตรงกับความต้องการ    การกำหนดเป้าหมายดำเนินการ  การสังเกตการสอนและการสะท้อนคิด  นำผลการนิเทศไปใช้ปฏิบัติได้  การติดตามและสรุปผล  ผู้นิเทศให้ข้อเสนอแนะแนวทาง  ที่เหมาะสม และระยะเวลาในการนิเทศเหมาะสม  ตามลำดับ


คำสำคัญ   การนิเทศ   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) Coaching and Mentoring

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น